วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ้างอิง

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no38/orchid/sec04p02_3.htm

เข็มใต้


เข็มแสดภาคใต้ (Asctm. miniatum)
มีลักษณะต้นและใบ คล้ายเข็มแดง แต่ลำต้นย่อมกว่า ใบแคบเล็กยาว และปลายใบโค้งลง ดอกเล็กกว่าเข็มแสดภาคอื่นขาดประมาณ 1 ซม. เท่านั้น และมีสีเข้มอมแดงคล้านเข็มแดง พบตั้งแต่ภาคใต้ลงไปถึง

เข็มม่วง


เข็มม่วง (Asctm. ampullaceum)
มีทรงต้นอ้วยล่ำกว่าชนิดอื่นใบกว่างแข็งออกซ้อนชิดกัน ปลายชี้ตั้งขึ้นยางประมาณ 15 ซม. ปลายใบตัดเป็นฟันแหลมไม่เท่กันก้านช่อตั้งเฉียงๆ ขนานกับใบยาวประมาณ 15 ซม. ดอกดกออกรอบก้านช่อตั้งแต่ฟันกาบใบขึ้นไปจำนวนดอกประมาณ 30ดอกต่อช่อ ดอกโตประมาณ 2 วม. สีม่วงแดง ปากเล็กแคบสีเหนือนวน ฤดูดอกในราวเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม และทนอยู๋ได้ 2 สัปดาห์
เข็มม่วงมีถินกำเนิดบริเวณเดียวกับเข็มแดง แต่มักขึ้นอยู๋ในระดับสูงกว่า อากาศเย็นกว่าเมื่อนำมาปลูกเลี้ยงในกรุงเทพฯ จึงอ่านแอเน่าง่าย เมื่อได้รับความชื้นสูงต้องใช่วิธีแขวนไว้ในที่สู.ลมโกรกแต่ค่อนข้างร่มกว่าเข็มชนิดอื่นจึงพออยู่ได้ และออกดอกให้ชมบ้างใยบางปีและหลายช่อด้วย แต่ช่อมักสั้นกว่าปกติ

เข็มแดง


เข็มแดง (Asctm. curvfolium)
ทรงต้นผอมบางกว่าเข็มแสดแดง ยาวราว 15-20 ซม. กก้านช่อตั้งแต่ไม่แข็มเท่าเข็มแสด ยาวแระมาณ 20 ซม. ขนาดดอกโดยประมาณ 1.5 ซม. หรือโตกว่าเล็กน้อยออกรอบก้านช่อเป็นระเบียบพองาม ดอกสีส้มอมแดงหรือข่อนข้างแดงสดใส่ปลายเส้นมีสีม่วงเมล์ดมะปรางดอกบานทนกว่า 2 สัปดาห์ ดอกออกในเดือน พฤษภาเลี้ยงในกรุงเทพฯ ต้องรดน้ำให้น้องลงก่อนถึง ฤดูดอกสัก 1-2 เดือนจะปล่อยออกดอกสม่ำเสมอดีขึ้น และควรปล่อยให้เป็นกอโตจะให้ดอกมากช่อขึ้น และกำเนิดโปรตีน แหล่งกำเนิดคิอในไทย พบตั้งแต่กาณจนะรุรีขึ้นไบจรถึงแม่ห้องสอนตาม

กล้วยไม้สกุลเข็ม

เข็มแสด (Asctm. miniatum)
ลักษณะต้นเตี้ยแคระใบหนา แข็งซ้อนติดกันแน่น ต้นมักสูงไม่เกิน 30 ซม. แต่กหน่อเป็นกอโต ขนาดใบกว่าง 1.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ปกติสีเขียว แต่ถ้าได้แดดมากจะมีประสีม่วงบนใบมาก ก้านช่อแข็งตั้งตรงสูง ประมาณ 15 ซม. ดอกดกแน่นช่อ ช่อละประมาณ 50 ดอก ขนาด ดอกโต ประมาณ 1.5 ซม. ปลายกส้นเกสรเห็นเป็นจุดสีดำ สีส้มอ่อนไปจนถึงสีส้มแก่สดใสสะดุดตามาก พบขึ้นในป่าโปร่งแห้งแล้งทั่วไปในทุคภาพ ฤดูดอกในราวเดือน กุมภาพันธ์ถึง มีนาคม เลี้ยงง่ายออกดอกง่าย บองต้นออกดอกในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน

ประวัติกล้วยไม้


กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดาข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพง หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัดต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วยไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา